วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

ทดสอบปลายภาค


ให้นักศึกษาอ่านบทความต่อไปนี้ วิเคราะห์แสดงความคิดเห็น

1.แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา ให้นักศึกษาอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้ Keywordว่า "แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา"ให้เขียนเชื่อมโยง วิเคราะห์ลงในบล็อกของนักเรียน

"แท็บเล็ต" (Teblet) เพื่อการศึกษา เป็นเครื่องมือยกระดับคุณภาพและกระจายโอกาสทางการศึกษา ในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการศึกษาไทย คุณลักษณะของแท็บเล็ตที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้นั้น สามารถสนองต่อความต้องการทางการเรียนรู้รายบุคคล สามารถติดตามช่วยเหลือให้ผู้เรียนบรรลุผลการเรียนรู้ได้ เป็นสื่อที่ทำให้เกิดการสร้างปฏิสัมพันธ์อย่างมีความหมาย และช่วยแบ่งปันความรู้ประสบการณ์ผ่านช่องทางสื่อสารหรือเครือข่ายสังคมต่างๆ "การใช้แท็บเล็ตให้ได้ผลจึงขึ้นอยู่กับครู ที่จะออกแบบกระบวนการเรียนรู้ของเด็กผสมผสานกับกระบวนการต่างๆ ในโรงเรียน
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต ( Tablet PC ) เป็นสื่อกระแสหลักที่กาลังมาแรงในสังคมยุคออนไลน์หรือสังคมสารสนเทศระบบเปิดในปัจจุบัน เป็นสื่อที่ถูกนามาใช้ประโยชน์ในทุกกลุ่มอาชีพรวมทั้งการศึกษาและการเรียนรู้ของผู้เรียนทุกระดับเนื่องมาจากสมรรถนะทางเทคโนโลยีที่สร้างความสะดวกและมีประสิทธิภาพสูงในการใช้งานจึงทาให้สื่อดังกล่าวมีบทบาทอย่างมากในปัจจุบัน แม้แต่ในวงการศึกษาไทยที่ภาครัฐยังได้กำหนดและสนับสนุนการใช้ให้เกิดการเรียนรู้ในวงกว้างในปัจจุบัน
ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้มีการพัฒนาและนำมาประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวาง ทั้งด้านเศรษฐกิจ  อุตสาหกรรม การบริการสังคม  สาธารณสุข  สิ่งแวดล้อม และการศึกษา ซึ่งการนำ ICT  มาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับบริบทของแต่ละด้านนั้น ได้มีการใช้ผ่านช่องทางการสื่อสารในระบบเครือข่าย เช่น สัญญาณระบบ  Wi-Fi, 3G และอุปกรณ์ต่างๆ เช่นคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต อันที่จะทำให้ผู้ส่งสารสามารถส่งข้อมูลข่าวสารถึงผู้รับสารได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย
ที่มา : http://www.addkutec3.com
www.kan1.go.th/tablet-for-education.pdf

2.อ่านบทความเรื่องสมาคมอาเซียนอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้ Keywordว่า "สมาคมอาเซียน" ให้เขียนวิเคราะห์ ประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้าน การเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษา เพื่อไปสู่อาเซียนได้อย่างไร

ประชาคมอาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) เป็นองค์กรระหว่างประเทศระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจุดเริ่มต้นโดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ได้ร่วมกันจัดตั้งสมาคม เมื่อ เดือน ก.ค.2504 เพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการไปได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย จนเมื่อมีการฟื้นฟูสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองประเทศ จึงได้มีการแสวงหาหนทางความร่วมมือกันอีกครั้งจนปัจจุบันมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ
วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งประชาคมอาเซียน
1. ส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและวัฒนธรรม
2. ส่งเสริมการมีเสถียรภาพ สันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค
3. ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และด้านการบริหาร
4. ส่งเสริมความร่วมมือซึ่งกันและกันในการฝึกอบรมและการวิจัย
5. ส่งเสริมความร่วมมือในด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การค้า การคมนาคม การสื่อสาร และปรับปรุงมาตรฐานการดำรงชีวิต
6. ส่งเสริมการมีหลักสูตรการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
7. ส่งเสริมความร่วมมือกับองค์กรระดับภูมิภาคและองค์กรระหว่างประเทศ
สำหรับประเทศไทยกับการเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มอาเซียน ก็จะช่วยในเรื่องของเศรษฐกิจ ทำให้เศรษฐกิจที่ขึ้น มาการแลกเปลี่ยนกลไกทางการค้าระหว่างประเทศ มีการแลกเปลี่ยนกันทางวัฒนธรรมและทางสังคม ส่งเสริมความมีสันติภาพและความมั่นคงต่อกัน เมื่อประเทศมีความมั่นคงทำให้ประเทศอื่นมีความเชื่อมั่นและกล้าที่จะมาลงทุนในประเทศไทย เมื่อมีประเทศอื่นเข้ามาลงทุนมาก็จะทำให้เศรษฐกิจของไทยขยายตัวดีขึ้น
สำหรับการเตรียมตัวเป็นครู นักศึกษา คือ ก่อนอื่นเราจะต้องมีความรู้ความสามารถในเรื่องของภาษาเราจะต้องฝึกพูดภาษาที่ใช้กันในอาเซียนเพื่อที่จะได้เปรียบในการทำงาน และครูจะต้องมีความรู้ ความสามารถ จะต้องเป็นคนที่รู้ลึก รู้จริง เพราะต่อไปนี้พอมีอาเซียนเข้ามาจะมีบุคคลจากภายนอกเข้ามาทำงาน เข้ามาเป็นคู่แข่งกับเรา ดังนั้นการเตรียมตัวก็ควรจะเตรียมตัวทั้งแต่แรกเริ่มเพื่อความสบายในวันข้างหน้า
ที่มา :  http://www.cityub.go.th/index.php?option=com
http://www.chusak.net/index.php?mo=3&art=41977045
http://www.thai-aec.com/418        

3. อ่านบทความครูกับภาวะผู้นำของ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับครู ให้ยกตัวอย่าง ประกอบ แสดงความคิดเห็น บทความ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง
ผศ.ดร.สมาน ฟูแสง คณบดีคณะครุศาสตร์ ได้พูดถึงครูกับภาวะผู้นำทางวิชาการว่า
 "การที่ครูมีความรู้ความสามารถและแสดงออกให้เห็นว่าเป็นผู้มีสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอน  เป็นที่ยอมรับของเพื่อนครู นักเรียน(นักศึกษา) และผู้ปกครอง จนทำให้เกิดกระบวนการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมให้เกิดในองค์กรได้"
ผู้นำที่ดีจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 4 ด้านคือ
    • ศรัทธา
    • ความไว้วางใจ
    • สร้างแรงบันดาลใจ
    • ยอมรับในความเป็นปัจเจกบุคคล

และได้พูดถึง "ครูกับภาวะผู้นำทางวิชาการ" โดยหยิบยกมาจาก Diann De Pasquale ศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ได้เสนอว่า ครูที่จะเป็นผู้นำทางวิชาการ หรือผู้นำทางการเรียนการสอน  ควรมีพฤติกรรม  7 ประการ คือ
1. หาหนังสือที่ติดอันดับขายที่ดีที่สุดมาอ่าน  เพราะหนังสือที่ขายดีเป็นหนังสือที่มีความรู้มากมายและเป็นหนังสือที่ได้รับการยอมรับจากคนจำนวนมาก
2. อยู่กับปัจจุบัน /ทันสมัย  คือ  ครูจะต้องรู้เท่าทันเหตุการณ์ที่เป็นปัจจุบันเพื่อที่จะได้ปรับรูปแบบการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับปัจจุบัน
3. หาข้อมูล มีความรู้ที่เกี่ยวกับเด็ก  คือ  การที่ครูมีความรู้เกี่ยวกับเด็กนักเรียนจะทำให้ครูสามารถเลือกรูปแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับเด็กได้  ถ้าครูรู้จักเด็กจะทำให้เด็กไม่รู้สึกเบื่อเมื่อถึงเวลาเรียนและอาจเป็นแรงจูงใจให้เด็กเข้าเรียนก็ได้
4. ทำให้เด็กแสดงออกซึ่งการเป็นภาวะผู้นำ  คือ  ในขณะที่จัดการเรียนการสอนครูควรกระตุ้นให้เด็กเกิดการตอบโต้กับครูบ้าง  ในการจัดการเรียนการสอนทุกครั้งครูควรมีคำถามมาถามนักเรียนเสมอๆ และควรจะถามนักเรียนให้ครบทุกคน
5. กำหนดให้เด็กทำงานรวมกันเป็นกลุ่ม  คือ  ในเวลาเรียนครูควรส่งเสริมให้เด็กได้ทำงานเป็นกลุ่มกันบ้างเพราะการทำงานเป็นกลุ่มทำให้เด็กได้รู้จักการแก้ปัญหา  และได้รู้จักการช่วยเหลือแบ่งปันซึ่งกันและกัน  และการทำงานเป็นกลุ่มจะทำให้เด็กมีภาวะผู้นำมากขึ้น
6. เชิญบุคคลภายนอกมาพูดให้เด็กฟัง  คือ  บางครั้งเมื่อเด็กเรียนกับครูมากเกินไปอาจทำให้เด็กเกิดอาการเบื่อ  ต้องให้ผู้อื่นที่ไม่ใช่ครูมาสอนบ้าง  หรือไม่ก็พาเด็กไปนอกสถานที่บ้าง
7. ท้าทายให้เด็กได้คิด  คือ  ในการจัดการเรียนการสอนทุกครั้งครูควรมีคำถามที่ที่ท้าทายความรู้เด็กเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเกิดกระบวนการคิด
               
4. ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและประเมินวิชานี้ว่า การเรียนรู้โดยใช้บล็อก นักศึกษามีวิธีการเรียนรู้อย่างไร แสดงความคิดเห็นหากจะเรียนรู้โดยใช้บล็อก ต่อไปข้างหน้าโอกาสจะเป็นอย่างไร ควรที่จะให้คะแนนวิชานี้อย่างไร และหากนักเรียนต้องการจะได้เกรดในวิชานี้ นักเรียนจะต้องพิจารณาว่า
               การเรียนรู้โดยใช้บล็อกนอกจากจะเรียนรู้ในห้องเรียนแล้วถ้าไม่เข้าใจก็จะถามอาจารย์หรือเพื่อนจนเข้าใจและทำได้  ก็ยังมีการมาค้นคว้าหาจากอินเตอร์เน็ตมาประกอบบ้างในการทำบล็อกและเมื่ออาจารย์สอนก็ตั้งใจฟังและทำตามทุกครั้งการเรียนรู้โดยใช้บล็อกนั้นถ้าคนมีความสนใจและใส่ใจก็จะทำออกมาดี
            ต่อไปโอกาสหน้าถ้าจะเรียนโดยบล็อก  ก็เป็นเรื่องที่ดีและหน้าสนใจเพราะไม่ต้องเรียนจากตำราและใช้กระดาษแต่จะมีการใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนซึ่งสอดคล้องกับการจะก้าวสู่อาเซียนต่อไปข้างหน้า
4.1 ตนเองมีความพยายามมากน้อยเพียงใด
ดิฉันมีความพยายามในการทำบล็อกทุกครั้งมาก  เพราะไม่เคยเรียนมาก่อน
                4.2 เข้าเรียนทุกครั้งไม่เคยขาดเรียน
                ไม่ได้เข้าเรียนทุกครั้งมีขาดอยู่สองครั้ง เพราะดิฉันสุขภาพอ่อนแอ ไม่สบายบ่อยจึงไม่ได้มาเรียน
                4.3 ทำงานส่งผ่านบล็อกตามกำหนดทุกครั้งที่อาจารย์สั่งงาน
                เมื่ออาจารย์สั่งงานถ้าทำไม่เสร็จก็จะกลับมาทำที่ห้อง
                4.4 ทำงานบทบล็อกด้วยความคิดของตนเองไม่ใช้ความคิดคนอื่น
                ทำงานทุกครั้งคิดเองทุกครั้ง
4.5.สิ่งที่นักเรียนตอบมานั้นเป็นความสัตย์จริง เขียนอธิบายลงในบล็อก
                เป็นความสัตย์จริง
4.6.อาจารย์จะพิจารณาจากผลงานและความตั้งใจ ความสื่อสัตย์ตนเอง และบอกเกรดว่าควรจะได้เท่าไร
            อยากได้เกรด  เพราะตั้งใจเรียน และชอบเรียนวิชานี้มาก เป็นวิชาที่ช่วยสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ในการเรียนการสอน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลายทาง

กิจกรรมที่ 9


การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน

เพื่อให้นักเรียนมีคุณลักษณะนิสัยดังประสงค์ และมีความรู้สึกอบอุ่นสบายใจในการอยู่ในชั้นเรียนครูจึงควรคำนึงถึงหลักการ จัดชั้นเรียน ดังต่อไปนี้
          1. การจัดชั้นเรียนควรให้ยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม ชั้นเรียนควรเป็นห้องใหญ่หรือกว้างเพื่อสะดวกในการโยกย้ายโต๊ะเก้าอี้ จัดเป็นรูปต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการเรียนการสอน ถ้าเป็นห้องเล็ก ๆ หลาย ๆ ห้องติดกัน ควรทำฝาเลื่อน เพื่อเหมาะแก่การทำให้ห้องกว้างขึ้น
          2. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อสร้างเสริมความรู้ทุกด้าน โดยจัดอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมหรือหนังสืออ่านประกอบที่หน้าสนใจไว้ตามมุมห้อง เพื่อนักเรียนจะได้ค้นคว้าทำกิจกรรมควรติดอุปกรณ์รูปภาพและผลงานไว้ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้
          3. ควรจัดชั้นเรียนให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ซึ่งมีอิทธิผลต่อความเป็นอยู่และการเรียนของนักเรียนเป็นอันมาก ครูมีส่วนช่วยเสริมสร้างสภาพแวดล้อมให้ดีได้ เช่น ให้นักเรียนจัดหรือติดอุปกรณ์ให้มีสีสวยงาม จัดกระถางต้นไม้ประดับชั้นเรียน จัดที่ว่างของชั้นเรียนให้นักเรียนทำกิจกรรม คอยให้คำแนะนำในการอ่านหนังสือ ค้นคว้าแก้ปัญหา และครูควรสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน ไม่ให้เครียด เป็นกันเองกับนักเรียน ให้นักเรียนรู้สึกมีความปลอดภัย สะดวกสบายเหมือนอยู่ที่บ้าน
          4. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่ดีงาม ชั้นเรียนจะน่าอยู่ก็ตรงที่นักเรียนรู้จักรักษาความสะอาด ตั้งแต่พื้นชั้นเรียน โต๊ะม้านั่ง ขอบประตูหน้าต่าง ขอบกระดานชอล์ก แปลงลบกระดาน ฝาผนังเพดาน ซอกมุมของห้อง ถังขยะต้องล้างทุกวัน เพื่อไม่ให้มีกลิ่นเหม็น และบริเวณที่ตั้งถังขยะจะต้องดูแลเป็นพิเศษ เพราะเป็นแหล่งบ่อเกิดเชื้อโรค
          5. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อสร้างความเป็นระเบียบ ทุกอย่างจัดให้เป็นระเบียบทั่งอุปกรณ์ของใช้ต่างๆ เช่นการจัดโต๊ะ ชั้นวางของและหนังสือ แม้แต่การใช้สิ่งของก็ให้นักเรียนได้รู้จักหยิบใช้ เก็บในที่เดิม จะให้นักเรียนเคยชินกับความเป็นระเบียบ
ลักษณะของชั้นเรียนที่ดี
         เพื่อให้การจัดชั้นเรียนที่ถูกต้องตามหลักการ ผู้สอนควรได้ทราบถึงลักษณะของชั้นเรียนที่ดี สรุปได้ดังนี้
         1. ชั้นเรียนที่ดีควรมีสีสันที่น่าดู สบายตา อากาศถ่ายเทได้ดี ถูกสุขลักษณะ
         2. จัดโต๊ะเก้าอี้และสิ่งที่ที่อยู่ในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน และกิจกรรมประเภทต่างๆ
         3. ให้นักเรียนได้เรียนอย่างมีความสุข   มีอิสรเสรีภาพ และมีวินัยในการดูแลตนเอง
         4. ใช้ประโยชน์ชั้นเรียนให้คุ้มค่า ครูอาจดัดแปลงให้เป็นห้องประชุม ห้องฉายภาพยนตร์และอื่น ๆ
         5. จัดเตรียมชั้นเรียนให้มีความพร้อมต่อการสอนในแต่ละครั้ง เช่น การทำงานกลุ่ม การสาธิตการแสดงบทบาทสมมุติ
         6. สร้างบรรยากาศให้อบอุ่น ให้ความเป็นกันเองกับผู้เรียน
การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้อย่างมีความสุข
          ด้วยหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับปัจจุบัน มุ่งหวังให้ผู้เรียนเป็นคนดี คนเก่ง มีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์ ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ทำงานและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขครูจึงเป็นบุคคลที่สำคัญอย่าง ยิ่งที่จะต้องสร้างบรรยากาศให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข
ความหมายของการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้อย่างมีความสุข
          บรรยากาศการเรียนรู้อย่างมีความสุข คือ การจัดสภาพการเรียนการสอนให้มีบรรยากาศที่ผ่อนคลาย นักเรียนรู้สึกเป็นอิสระ ได้เรียนรู้โดยวิธีการต่างๆ อย่างหลากหลาย ครูยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคลและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้พัฒนาตน เองอย่างเต็มศักยภาพ
ความสำคัญของการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้อย่างมีความสุข
          การสร้างบรรยากาศให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนทั้งปัจจุบันและอนาคต ดังนี้
          1. ทำให้ผู้เรียนมีสุขภาพจิตดี มีความสุข สดชื่น เบิกบาน ซึ่งเป็นพื้นฐานของการเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพที่ดีในอนาคต
          2. ทำให้ผู้เรียนเกิดกำลังใจ ใฝ่เรียนรู้ ไม่ท้อแท้ หรือท้อถอย เป็นการส่งเสริมนิสัย ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน และรักการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ตลอดชีวิต
          3. ทำให้ผู้เรียนมีจิตใจที่ดีงาม เพราะเด็กที่เจริญเติบโตขึ้นในบรรยากาศแห่งความรักก็จะรู้จักรักผู้อื่น เผื่อแผ่ความรู้สึกและความสัมพันธ์ที่ดีกว้างอออกไป และพร้อมที่จะช่วยเหลือผู้อื่นต่อไป
          4. ทำให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าของตนเอง และมีกำลังใจที่จะทำสิ่งที่ดีงามตลอดไป
          5. ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกับผู้อื่น เพราะการเรียนรู้ที่มีความสุขเป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์ กับเพื่อน เป็นการฝึกการยอมรับ การเข้าใจ เห็นใจผู้อื่น ไม่มุ่งมั่นเอาชนะ มีเหตุผล ฝึกความอดทน อดกลั้น รู้จักผ่อนปรน รู้จักให้อภัย เป็นต้น
แนวคิดของการสร้างสรรค์บรรยากาศการเรียนรู้ที่มีความสุข
          ด้วยการสร้างความสุขที่อาศัยปัจจัยภายนอกแต่เพียงอย่างเดียวอาจทำให้เกิดโทษ ได้เช่น ทำให้นักเรียนเรียกร้องเอาแต่ใจตัวเอง เกิดนิสัยชอบพึ่งพาผู้อื่น และมีความสุขแบบพึ่งพาดังนั้น ครูผู้นำทางแห่งการเรียนรู้ จึงต้องเข้าใจหลักการและมีแนวปฏิบัติได้ถูกต้อง
          1. การสร้างบรรยากาศแห่งความรักให้เด็กมีความสุขนั้นไม่ใช่จุดหมาย แต่เป็นการสร้างปัจจัยเอื้อต่อการก้าวสู่เป้าหมาย คือ หนุนการเรียนรู้และการทำอะไรที่เป็นการสร้างสรรค์
          2. ให้เด็กอยู่ในบรรยากาศแห่งความรัก หรือได้รับความรักในลักษณะที่ไม่รวมศูนย์เข้าหาตัว แต่ให้ขยายความรักออกไปรักครู รักเพื่อน และอยากช่วยเหลือผู้อื่น
          3. ครูควรสร้างนิสัยช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น และการร่วมกันคิดร่วมกันทำให้มากกว่าการพึ่งพาผู้อื่น เป็นการสร้างความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน อันเป็นลักษณะของสังคมที่พึงปรารถนา
          4. ครูควรใช้ปัจจัยภายนอกช่วยทำให้สถานการณ์นั้นเชื่อมโยงไปสู่การพัฒนาปัจจัยภายใน คือ ความใฝ่รู้ ใฝ่สร้างสรรค์ในตัวเด็ก
          5. สถานการณ์การเรียนที่สนุก ต้องไม่ทำให้เด็กติดในความสนุก หรือเห็นแก่ความสนุก ต้องดำเนินไปในลักษณะที่ความสนุกนั้นเป็นปัจจัยนำไปสู่การใฝ่รู้ ใฝ่เรียน ในเชิงสร้างสรรค์ ตลอดชีวิต
สรุป
          การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน เป็นสิ่งสำคัญในการช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนและส่งเสริมให้ผู้ เรียนสามารถรับผิดชอบควบคุมดุแลตนเอง ได้ในอนาคต การจัดบรรยากาศมีทั้งด้านกายภาพ เป็นการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนทั้งการจัดตกแต่งในห้องเรียน จัดที่นั่ง จัดมุมเสริมความรู้ต่างๆ ให้สะดวกต่อการเรียนการสอน ทางด้านจิตวิทยา เป็นการสร้างความอบอุ่น ความสุขสบายใจให้กับผู้เรียน ผู้สอนควรจัดบรรยากาศทั้ง 2 ด้านนี้ให้เหมาะสม นอกจากนี้การสร้างบรรยากาศการเรียนรุ้ให้เกิดความสุขแก่ผู้เรียนเป็นองค์ ประกอบสำคัญประการหนึ่งที่จะสร้างคุณลักษณะนิสัยของการใฝ่เรียนรู้ การมีนิสัยรักการเรียนรู้ การเป็นคนดี และการมีสุขภาพจิตที่ดี สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขทั่งในปัจจุบันและอนาคตต่อไป ซึ่งบุคคลสำคัญที่จะสร้างบรรยากาศการเรียนรู้อย่างมีความสุขให้เกิดขึ้นได้ คือ ครูผู้นำทางแห่งการเรียนรู้นั่นเอง

กิจกรรมที่ 8

 ครูมืออาชีพในอุดมคติ

               ความเป็นมืออาชีพของครู ควรที่จะต้องยึดถือและปฏิบัติให้เกิดความสัมพันธ์กับมาตรฐานของวิชาชีพครู ซึ่งมีความสำคัญและความจำเป็นต่อครูทุกคน ทั้งนี้เนื่องจากกระแสแห่งโลกาภิวัตน์ ทำให้       มีความจำเป็นที่บุคคลจักต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทุกระดับ ให้มีความสำนึกต่อบทบาทและภารกิจต่าง ๆ ที่มีต่อสังคมมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 และ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 พร้อมทั้งกฎระเบียบข้อบังคับและกติกาทางสังคมแห่งยุคประชาธิปไตย เป็นสิ่งบ่งบอกว่าต่อไปนี้ สังคม องค์การ หน่วยงาน และหน่วยปฏิบัติต่าง ๆ มีความต้องการ ครูมืออาชีพมิใช่เพียงแต่มี อาชีพครูเกิดขึ้นเท่านั้น ซึ่งตามทัศนะของผู้เขียนแล้ว ครูมืออาชีพจักต้องมีลักษณะพื้นฐานในตน 3 ประการ ต่อไปนี้ คือ
1.       ครูต้องมี ฉันทะ ต่ออาชีพครู เป็นพื้นฐาน
2.       ครูต้องมีความเมตตา ต่อเด็กและบุคคลรอบข้างเป็นพื้นฐาน และ
3.       ครูต้องมีความเป็น กัลยาณมิตร พร้อมเสมอที่จะช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความบริสุทธิ์ใจ

ครูมืออาชีพต้องมีคุณภาพการสอน
                สิ่งที่ครูมืออาชีพควรตระหนักเป็นอย่างยิ่งก็คือ คุณภาพการสอนซึ่งเป็นความสามารถที่จะสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนทุกคน

ครูมืออาชีพ จึงต้องมีความสามารถต่อไปนี้
                1. สามารถประยุกต์ใช้ยุทธศาสตร์ และการจัดระบบ ได้อย่างเหมาะสมกับการเรียนรู้และความต้องการทางการศึกษาของผู้เรียน สภาพแวดล้อมของโรงเรียนและสาระการเรียนรู้ที่สอน
                2. สามารถติดตามการเรียนรู้ผู้เรียนเป็นรายบุคคล ใช้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อวางแผนให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนเป็นรายบุคคล เป็นกลุ่มและเป็นชั้น
                3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างอิสระ ฝึกการใช้ภาษา คาดหวังให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบในการเรียนรู้
                4. พัฒนาความสัมพันธ์เชิงจรรยาบรรณ  บนพื้นฐานทักษะการสื่อสารที่ดีให้การยอมรับผู้เรียนทุกคน และคาดหวังจะได้รับการยอมรับจากผู้เรียน
                5. มีความรู้ที่ทันสมัย และสนับสนุนข้อคิดเห็นที่มีต่อหลักสูตรอย่างกระตือรือร้น
                6. เชื่อความสามารถในการเรียนของผู้เรียนทุกคน คาดหวังว่าผู้เรียนทุกคนเรียนรู้และส่งความคาดหวังนี้ไปยังแต่ละบุคคล โรงเรียนและชุมชน
                7. กระตือรือร้นในการฝึกผู้เรียนเข้าสู่ประสบการณ์แห่งการเรียนรู้เรื่องที่ผู้เรียนเห็นว่ามีความสำคัญต่อชีวิตของตน
                8. ช่วยให้ผู้เรียนสามารถสร้างความเชื่อมโยง เข้าใจความสัมพันธ์ทั้งภายในและระหว่างสาระการเรียนรู้

ครูสอนดีต้องมีหลักในการสอน
การสอนที่ดีและมีคุณภาพย่อมต้องคำนึงถึงหลักสำคัญ ๆ 20 ประการ ดังนี้
1.       ศึกษาหลักสูตรให้กระจ่าง
2.       วางแผนการสอนอย่างดี
3.       มีกิจกรรม/ทำอุปกรณ์
4.       สอนจากง่ายไปหายาก
5.       วิธีสอนหลากหลายชนิด
6.       สอนให้คิดมากกว่าจำ
7.       สอนให้ทำมากกว่าท่อง
8.       แคล่วคล่องเรื่องสื่อสาร
9.       ต้องชำนาญการจูงใจ
10.    อย่าลืมใช้จิตวิทยา
11.    ต้องพัฒนาอารมณ์ขัน
12.    ต้องผูกพันห่วงหาศิษย์
13.    เฝ้าตามติดพฤติกรรม
14.    อย่าทำตัวเป็นทรราช
15.    สร้างบรรยากาศไม่น่ากลัว
16.    ประพฤติตัวตามที่สอน
17.    อย่าตัดรอนกำลังใจ
18.    ให้เทคนิคการประเมิน
19.    ผู้เรียนเพลินมีความสุข
20.    ครูสนุกกับการเรียน

สรุป
การสอนเป็นภารกิจหลักของครู ครูมืออาชีพจึงต้องเน้นการสอนให้มีคุณภาพ เพราะว่าคุณภาพการสอนของครูย่อมส่งผลดีต่อนักเรียน และเยาวชนของชาติ การประเมินคุณภาพของครูจึงสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องประเมินจากตัวเด็กและเยาวชนของชาติ ดังคำกล่าวที่ว่า คุณภาพของเด็กสะท้อน คุณภาพของครูดังนั้นครูมืออาชีพควรมีและควรเป็นก็คือ ต้องเน้นคุณลักษณะพื้นฐานนั่นคือ ฉันทะ เมตตา และ กัลยาณมิตร ซึ่งถือว่าเป็นคุณภาพพื้นฐานที่สำคัญของครู และพัฒนาการสอนของครูซึ่งเป็นภารกิจหลัก โดยเฉพาะการสอนอย่างมีคุณภาพ นั่นคือ ครูมืออาชีพ จึงต้องมีคุณธรรมโน้มนำ ทำการสอนอย่างมีคุณภาพ มีภาพลักษณ์ของความเป็นครูดี เพื่อพัฒนาศักดิ์ศรีของอาชีพครูสืบไป

กิจกรรมพิเศษ

กิจกรรมที่ 7



ให้นักศึกษาศึกษาดูโทรทัศน์ครู ให้เลือกเรื่องที่นักศึกษาสนใจมาคนละ 1 เรื่อง และ เขียนลงในบล็อกกิจกรรมของนักเรียน ดังนี้
1.สอนเรื่องอะไร ผู้สอนชื่อ ระดับชั้นที่สอน
สอนเรื่อง  ดูแลใส่ใจ ห่วงใยสิ่งแวดล้อม
สอนโดย  ผู้สอนคุณครูสชญา หล้าอินเชื้อ โรงเรียนเสริมงามวิทยาคม
ระดับชั้น  มัธยมศึกษาปีที่ 6
2. เนื้อหาที่ใช้สอนมีอะไรบ้าง
เป็นการจัดการเรียนการสอนที่เรียนรู้จากสถานการณ์จริง กับชุมชนที่เกิดปัญหาจริง ทำให้นักเรียนได้เรียนรู้ธรรมชาติของชุมชน ปลูกจิตสำนึกให้กับนักเรียนในการรักสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวและเป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับชุมชน ทำให้นักเรียนกล้าและสามารถดำเนินการได้เองเหมาะสมกับวุฒิภาวะของนักเรียน ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งการจัดกิจกรรมนี้ทำให้นักเรียนรู้จักคิดวางแผนการทำงานและประสานงานกับผู้อื่นได้ และครูสอนความเป็นประชาธิปไตยให้นักเรียนด้วยโดยการใช้เสียงส่วนใหญ่เลือกทำโครงการ เป็นการสอนที่ดีมาก
3. จัดกิจกรรมการสอนด้าน (สติปัญญา=IQ, อารมณ์=EQ, คุณธรรมจริยธรรม=MQ)
ด้านสติปัญญา
คุณครูถามคำถามเรื่องท้องถิ่นของนักเรียนแล้วให้นักเรียนตอบคำถามจากความคิดของตนเองแล้วนำมาเขียนลงบนกระดาน            นักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้เพื่อที่จะนำไปวางแผนในการแก้ปัญหาชุมชน
ด้านอารมณ์
นักเรียนกล้าที่จะเสนอความคิดเห็นที่แตกต่างจากผู้อื่น มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการวางแผนทำโครงงาน  นักเรียนได้สอบถามหาความรู้เพิ่มเติมจากชาวบ้านในชุมชน  นักเรียนกล้าที่จะนำเสนองานหน้าชั้นเรียน
ด้านคุณธรรมจริยธรรม
นักเรียนในกลุ่มให้ความร่วมมือกันในการวางแผนลงสำรวจชุมชนอย่างสามัคคี ไม่เอาเปรียบกันในการทำงาน ช่วยเหลือกันในการทำโครงงาน
4. บรรยากาศการจัดห้องเรียน เป็นอย่างไร
ให้นักเรียนนั่งรวมกันเป็นกลุ่มทำให้ปรึกษาร่วมกันได้ และมีอุปกรณ์ช่วยสอน เช่น กระดาน เครื่องเล่นวีดีโอ โทรทัศน์ ฯลฯ ทำให้เกิดการเรียนการสอนที่สะดวกขึ้น

กิจกรรมทดสอบกลางภาคเรียน


บทความเรื่อง  ความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ของ ดร.สุเมธตันติเวชกุล วารสารทักษิณ
1. ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
                 จากการที่ได้อ่านบทความนี้สรุปได้ว่า การที่เราเป็นครูนั้นต้องรู้จักประมาณตนเอง พอเพียงในสิ่งที่ตนมี รู้จักใช้ชีวิตให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยนำเอาพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นหลักในการดำเนินชีวิต พระองค์ทรงสอนให้เราพอเพียง รู้จักรักษาทรัพยากรธรรมชาติ รู้จักใช้หลักในการดำรงชีวิต ทรงคิดโครงการแก้มลิงในการเสริมสร้างความเป็นอยู่ของประชาชน ดังนั้นในการที่เราจะไปเป็นครูในภายภาคหน้าเราควรที่จะใช้ชีวิตในหลักเศรษฐกิจพอเพียง พอในสิ่งที่ตนมี ไม่ใช้จ่ายเกินตัว รู้จักเก็บออม กินอย่างมีความสุขโดยการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ ปลูกผักไว้กินเอง ใช้ชีวิตให้มีความสุขกับแนวทางพระราชดำรัสของพรบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
ถ้าเป็นครูจะสอนให้นักเรียนรู้จักใช้ความคิด รู้จักการแก้ปัญหา สอนให้นักเรียนรู้ลึก รู้จริงในเรื่องนั้นๆ รู้จนกระจ่างแจ้ง จะสอนให้นักเรียนรู้จักการอยู่ร่วมกับผู้อื่น การทำงานร่วมกับผู้อื่น การทำงานเป็นทีม สอนให้นักเรียนรู้จักความสามัคคี
3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
ออกแบบการสอนโดยเน้นให้นักเรียนคิดเป็น ทำเป็น รู้จักการแก้ปัญหาเป็น อย่างเช่น ถ้าครูจะสอนเกี่ยวกับเรื่องวิกฤติธรรมชาติ อันดับแรก คือ ครูจะร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับนักเรียน หลังจากนั้นให้นักเรียนวิเคราะห์ถึงสาเหตุและก็ปัญหาที่เกิดขึ้น แล้วก็นำปัญหาที่ได้มาการแก้ปัญหารู้ว่าปัญหาดังกล่าวสามารถนำแนวทางใดมาใช้ในการแก้ปัญหาได้บ้าง เช่น หลักเศรษฐกิจพอเพียง หลักอิทธิบาท 4 หลังจากนั้นก็สรุปแบบองค์ความรู้ที่สมบูรณ์อีกหลัง เราสามารถนำความรู้จากบทความที่ได้นี้ไปเป็นแนวทางในการเรียนการสอน ไว้ให้เด็กเป็นแนวคิดในหลักการดำรงชีวิต เป็นข้อคิดในการแก้ปัญหาต่าง ๆ
บทความ  วิถีแห่งสตีฟ จ๊อบส์     THE STEVE JOBS WAY
    1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ          
            บนโลกแห่งโลกาภิวัฒน์ใบนี้ เป็นสิ่งที่ผู้คนปฏิเสธไม่ได้ในเรื่องของเทคโนโลยี ซึ่งผู้ที่หลายคนยอมรับว่าเขามีบทบาทในเรื่องนี้คือ สตีฟ จ๊อบส์ สตีฟ จ๊อบส์ คือ มนุษย์ผู้หนึ่งที่มิได้มีมนต์วิเศษใดใดแต่เขาเป็นผู้ที่มีปัญญาสูง มีสมองที่ดีมาก มีความฉลาด ฉลาดในการวางแผน ฉลากในการเลือกเพื่อนร่วมงาน เขาสามารถผลิตเทคโนโลยีพลิกโลกให้เปลี่ยนไป ดังที่รู้ว่า เขาและทีมงานเป็นผู้ผลิต ไอแพด ไอพอด ไอโฟน และอื่นๆอีกมากมาย สิ่งเหล่านี้เกิดจากสมองและสองมือทั้งสิ้นจนอาจกล่าวได้ว่าอารยธรรมของโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่และทำให้ให้โลกก้าวทันเทคโนโลยีมากขึ้น
การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา  แต่ละเขตพื้นที่ประกอบด้วย  3  คณะ
1.  คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา(กพท.) มีหน้าที่หลักในการดูแล ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา ในลักษณะทั่วไป
2.  คณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา(กตปน.) มีหน้าที่หลักในการดูแลงานเชิงวิชาการ งานประกันคุณภาพการศึกษา
3. อนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษา (อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา) มีหน้าที่หลักในการดูแลงานด้านการบริหารงานบุคคล  
            ปัจจุบันนี้เกิดปัญหาความต้องการทางเขตพื้นที่การศึกษาคือ การจัดการศึกษาในบางระดับที่มีการเรียนสูงขึ้น การออกระหว่างเรียนก็น้อยลง และก็มีการเรียนต่อสูงขึ้น จึงต้องมีการพัฒนาในเรื่องของสถานศึกษา และครูอาจารย์ให้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงทำให้แก้ไขปัญหาต่างๆในปัจจุบัน เช่นการว่างงาน ปัญหาสังคม เป็นต้น
  2. ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
          ในวันหนึ่งดิฉันเป็นครูผู้สอนดิฉันจะนำความรู้นี้ไปประยุกต์ใช้ในการสอนคือ พัฒนาตนเองก่อนเป็นอันดับแรกให้มีความรู้และความสามารถทันต่อยุคสมัยตลอดจนพัฒนาผู้เรียน โดนเห็นผู้เรียนสำคัญที่สุด ร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ และผู้ปกครอง โรงเรียน เพื่อนแก้ปัญหาต่างๆของโรงเรียนบนแนวทางแห่งเศรษฐกิจพอเพียงในการสอนนั้นจะต้องทุ่มเทและถ่ายทอดให้เด็กนักเรียนของตนให้หมดไม่ควรเก็บไว้คนเดียว สอนด้วยจิตวิญญาณความเป็นครูอย่างแท้จริง ให้นักเรียนมีส่วนในการมีส่วนร่วมบ้างแสดงความสามารถของตัวเอง จะไม่ทอดทิ้งเด็กให้อยู่ด้านหลังและจะรักและให้คำปรึกษาเด็กหากมีปัญหา ผลักดันให้เด็กมีความรู้ที่ทัดเทียมกันสามารถเรียนร่วมกับเพื่อนร่วมห้องได้โดยไม่มีปัญหา
3. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร  
          ในอนาคตดิฉันจะเป็นครูผู้สอน และดิฉันจะนำแนวคิดของบทความนี้ไปใช้ในการออกแบบการสอนโดย ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเข้าใจ สามารถนำไปใช้ได้จริง ดิฉันจะนำมาประยุกต์ใช้กับเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น จะจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มากที่สุดจะออกแบบการเรียนการสอน
ที่ทำให้นักเรียนเกิดความรู้ได้โดยง่าย สร้างความสามัคคีในกลุ่ม สร้างความรับผิดชอบต่อตนเองและเพื่อนในกลุ่ม สร้างการมีน้ำใจช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  สร้างความสนุกสนานในการเรียนการสอน บรรยากาศที่ดี และที่สำคัญคือนักเรียนได้สร้างองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากตัวเองและความรู้ที่จากเพื่อนมาหลอมเป็นองค์ความรู้ใหม่ของตัวเอง

กิจกรรมที่ 6

เดินตามรอยเท้าพ่อ ดำเนินชีวิตแบบ "เศรษฐกิจพอเพียง"


วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 5


 ประวัติ  ร.ศ. สุนีย์ สินธุเดชะ


การศึกษา
  • ได้รับปริญญาอักษรศาสตร์บัณฑิต และครุศาสตร์บัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยเป็นนักเรียนทุนกระทรวงศึกษาธิการ
  • ได้รับพระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตสาขานิเทศศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ได้รับพระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตปรัชญา สาขาพัฒนศึกษา จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น

การงาน
           ปีการศึกษา 2503-2540 ได้รับการคัดเลือกเข้ารับราชการในคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย

ประสบการณ์
  • บรรยายอบรมในสถานศึกษาเกี่ยวกับเอกลักษณ์ วัฒนธรรมของชาติแก่สถาบันการศึกษา ตั้งแต่ระดับมัธยมถึงอุดมศึกษา
  • บรรยายวิชาภาษาไทยแก่นักศึกษาชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย วิทยาลัยพยาบาลพระมงกุฎเกล้า วิทยาลัยพยาบาลราชวิถี วิทยาลัยพยาบาลโรงพยาบาลภูมิพล วิทยาลัยพยาบาลพระปิ่นเกล้า วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ วิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์
  • บรรยายและอภิปรายเป็นครั้งคราว แก่วิทยาลัยพยาบาลเชียงใหม่ วิทยาลัยพยาบาลสงขลานครินทร์ และอีกหลายมหาวิทยาลัยที่ต้องการให้นักศึกษาได้เรียนรู้ด้านภาษากับการสื่อสาร
  • บรรยายและอบรมในเวลาที่ข้าราชการครูจัดทำปฏิบัติการด้านการเรียนการสอน โดยบรรยายด้านการสอนโดยทั่วไป และเฉพาะวิชาวิธีสอนวิชาภาษาไทย
  • บรรยายแก่ข้าราชการ และองค์กรทางธุรกิจ เรื่องวัฒนธรรมองค์กรและการทำงานอย่างเป็นสุข และหัวข้ออื่นๆตามผู้เชิญต้องการแต่อยู่ในเกณฑ์ที่ได้ศึกษามา
  • ศึกษาดูงานที่มหาวิทยาลัยการโรงแรมที่ประเทศสิงคโปร์ (Shatee University)
  • ศึกษาดูงานการเรียนการสอนวิชาการโรงแรม ณ มหาวิทยาลัยHawaii
  • ศึกษาดูงานการศึกษาภาษาต่างประเทศและกิจกรรมด้านการเรียนวิชาการโรงแรม ณ มหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

ปัจจุบัน
          ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต และ ผู้อำนวยการด้านการศึกษาและประชาสัมพันธ์ โครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและภาษา IES 
ตำแหน่งทางวิชาการ
          รองศาสตราจารย์ ระดับ 9
งานเขียนพิเศษ
  • ตอบปัญหาด้านการศึกษาแก่นักเรียนและผู้ปกครอง ทางหนังสือพิมพ์ไทยรัฐฉบับวันอาทิตย์ (หน้า 12)
  • ตอบปัญหาชีวิตในนิตยสารดาราภาพยนตร์
  • เขียนตำราวิชา ภาษาไทยกับการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-5-6
  • เขียนตำราวิชา ภาษาไทยธุรกิจ สำหรับนักศึกษาปวช. 3
  • เขียนตำรา มารยาทและวัฒนธรรมไทย สำหรับนักศึกษาปวช. 3
นักเรียนประยุกต์สิ่งที่ดีของครูมาใช้ในการพัฒนาตนเอง
          ท่านใช้จิตวิญญาณในการสอน เข้าถึงอารมณ์ความรู้สึก สอนอย่างมีพลัง มีความเที่ยงตรงยุติธรรม ตรงไปตรงมา ทำให้อยากเป็นครูที่สอนอย่างเข้าถึงจิตวิญญาณของวิชา เข้าใจสิ่งที่สอนอย่างถ่องแท้ และมีความซื่อสัตย์ต่องานที่ทำ

วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 4

การทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ


การทำงานเป็นทีม  จะเป็นประโยชน์สูงสุดขององค์กร  และมีโอกาสประสบผลสำเร็จมากกว่าการทำงานคนเดียว  แต่การสร้างทีมงานนั้นต้องใช้ เวลา ในการพัฒนาบุคคล  และพัฒนาทีมงานพอสมควร จึงจะเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ
                ขั้นตอนการทำงานเป็นทีม
                             1. วิเคราะห์งาน
                             2. กำหนดเป้าหมายร่วมกัน
                             3. วางแผนการทำงาน
                             4. แบ่งงานให้สมาชิกของทีม
                             5. ปฏิบัติจริงตามแผน
                             6. ติดตามผลและนิเทศงาน
                             7. ประเมินขั้นสุดท้าย
                ทีมงานที่มีประสิทธิภาพ
             เข้าใจวัตถุประสงค์และเป้าหมายชัดเจน  เปิดเผยจริงใจและร่วมกันแก้ปัญหา  สนับสนุนไว้วางใจ ยอมรับ และรับฟังกัน  ร่วมมือกัน ใช้ความขัดแย้งในเชิงสร้างสรรค์  ทบทวนการปฏิบัติงานและตื่นตัวตลอดเวลา  มีการพัฒนาตนเอง  รู้จักตนเองและรู้จักผู้อื่น เข้าใจต่อเพื่อนร่วมงาน  และสามารถร่วมกลุ่มกันได้เป็นอย่างดี

ตอบคำถาม เรื่อง การทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ
          1.แนวคิดหลักการทำงานเป็นทีม เป็นอย่างไร 
   แนวคิดและหลักการทำงานเป็นทีมนั้นควรมี 3 ประการคือ
                   1. การยอมรับความแตกต่างของบุคคล
                   2. แรงจูงใจของมนุษย์
                   3. ธรรมชาติมนุษย์
          2. นักศึกษาจะมีวิธีการทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพทำอย่างไร  ยกตัวอย่างประกอบ
    เข้าใจวัตถุประสงค์และเป้าหมายชัดเจน                 เปิดเผยจริงใจและร่วมกันแก้ปัญา   สนับสนุนไว้วางใจ ยอมรับ และรับฟังกัน            ร่วมมือกัน ใช้ความขัดแย้งในเชิงสร้างสรรค        ทบทวนการปฏิบัติงานและตื่นตัวตลอดเวลา        มีการพัฒนาตนเอง        รู้จักตนเองและรู้จักผู้อื่น เข้าใจต่อเพื่อนร่วมงาน และสามารถร่วมกลุ่มกันได้เป็นอย่างดี
           นอกจากนี้ในการทำงานเป็นทีมนั้นจะต้องมีขั้นตอนในการทำงานเป็นทีม   ซึ่งจะต้องวิเคราะห์งานกำหนดเป้าหมายร่วมกัน   วางแผนการทำงาน   กำหนดกิจกรรม   แบ่งงานให้สมาชิกของทีม   ปฏิบัติจริงตามแผน   ติดตามผล และนิเทศงาน   ประเมินขั้นสุดท้าย  ถ้าหากทีมมีองค์ประกอบทั้งหมดนี้ก็จะทำให้ทีมมีประสิทธิภาพ