วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 5


 ประวัติ  ร.ศ. สุนีย์ สินธุเดชะ


การศึกษา
  • ได้รับปริญญาอักษรศาสตร์บัณฑิต และครุศาสตร์บัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยเป็นนักเรียนทุนกระทรวงศึกษาธิการ
  • ได้รับพระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตสาขานิเทศศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ได้รับพระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตปรัชญา สาขาพัฒนศึกษา จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น

การงาน
           ปีการศึกษา 2503-2540 ได้รับการคัดเลือกเข้ารับราชการในคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย

ประสบการณ์
  • บรรยายอบรมในสถานศึกษาเกี่ยวกับเอกลักษณ์ วัฒนธรรมของชาติแก่สถาบันการศึกษา ตั้งแต่ระดับมัธยมถึงอุดมศึกษา
  • บรรยายวิชาภาษาไทยแก่นักศึกษาชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย วิทยาลัยพยาบาลพระมงกุฎเกล้า วิทยาลัยพยาบาลราชวิถี วิทยาลัยพยาบาลโรงพยาบาลภูมิพล วิทยาลัยพยาบาลพระปิ่นเกล้า วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ วิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์
  • บรรยายและอภิปรายเป็นครั้งคราว แก่วิทยาลัยพยาบาลเชียงใหม่ วิทยาลัยพยาบาลสงขลานครินทร์ และอีกหลายมหาวิทยาลัยที่ต้องการให้นักศึกษาได้เรียนรู้ด้านภาษากับการสื่อสาร
  • บรรยายและอบรมในเวลาที่ข้าราชการครูจัดทำปฏิบัติการด้านการเรียนการสอน โดยบรรยายด้านการสอนโดยทั่วไป และเฉพาะวิชาวิธีสอนวิชาภาษาไทย
  • บรรยายแก่ข้าราชการ และองค์กรทางธุรกิจ เรื่องวัฒนธรรมองค์กรและการทำงานอย่างเป็นสุข และหัวข้ออื่นๆตามผู้เชิญต้องการแต่อยู่ในเกณฑ์ที่ได้ศึกษามา
  • ศึกษาดูงานที่มหาวิทยาลัยการโรงแรมที่ประเทศสิงคโปร์ (Shatee University)
  • ศึกษาดูงานการเรียนการสอนวิชาการโรงแรม ณ มหาวิทยาลัยHawaii
  • ศึกษาดูงานการศึกษาภาษาต่างประเทศและกิจกรรมด้านการเรียนวิชาการโรงแรม ณ มหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

ปัจจุบัน
          ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต และ ผู้อำนวยการด้านการศึกษาและประชาสัมพันธ์ โครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและภาษา IES 
ตำแหน่งทางวิชาการ
          รองศาสตราจารย์ ระดับ 9
งานเขียนพิเศษ
  • ตอบปัญหาด้านการศึกษาแก่นักเรียนและผู้ปกครอง ทางหนังสือพิมพ์ไทยรัฐฉบับวันอาทิตย์ (หน้า 12)
  • ตอบปัญหาชีวิตในนิตยสารดาราภาพยนตร์
  • เขียนตำราวิชา ภาษาไทยกับการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-5-6
  • เขียนตำราวิชา ภาษาไทยธุรกิจ สำหรับนักศึกษาปวช. 3
  • เขียนตำรา มารยาทและวัฒนธรรมไทย สำหรับนักศึกษาปวช. 3
นักเรียนประยุกต์สิ่งที่ดีของครูมาใช้ในการพัฒนาตนเอง
          ท่านใช้จิตวิญญาณในการสอน เข้าถึงอารมณ์ความรู้สึก สอนอย่างมีพลัง มีความเที่ยงตรงยุติธรรม ตรงไปตรงมา ทำให้อยากเป็นครูที่สอนอย่างเข้าถึงจิตวิญญาณของวิชา เข้าใจสิ่งที่สอนอย่างถ่องแท้ และมีความซื่อสัตย์ต่องานที่ทำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น