บทความเรื่อง
ความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ของ ดร.สุเมธตันติเวชกุล วารสารทักษิณ
1. ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
จากการที่ได้อ่านบทความนี้สรุปได้ว่า
การที่เราเป็นครูนั้นต้องรู้จักประมาณตนเอง พอเพียงในสิ่งที่ตนมี
รู้จักใช้ชีวิตให้เกิดประโยชน์สูงสุด
โดยนำเอาพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นหลักในการดำเนินชีวิต
พระองค์ทรงสอนให้เราพอเพียง รู้จักรักษาทรัพยากรธรรมชาติ
รู้จักใช้หลักในการดำรงชีวิต
ทรงคิดโครงการแก้มลิงในการเสริมสร้างความเป็นอยู่ของประชาชน
ดังนั้นในการที่เราจะไปเป็นครูในภายภาคหน้าเราควรที่จะใช้ชีวิตในหลักเศรษฐกิจพอเพียง
พอในสิ่งที่ตนมี ไม่ใช้จ่ายเกินตัว รู้จักเก็บออม กินอย่างมีความสุขโดยการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้
ปลูกผักไว้กินเอง
ใช้ชีวิตให้มีความสุขกับแนวทางพระราชดำรัสของพรบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
ถ้าเป็นครูจะสอนให้นักเรียนรู้จักใช้ความคิด
รู้จักการแก้ปัญหา สอนให้นักเรียนรู้ลึก รู้จริงในเรื่องนั้นๆ รู้จนกระจ่างแจ้ง
จะสอนให้นักเรียนรู้จักการอยู่ร่วมกับผู้อื่น การทำงานร่วมกับผู้อื่น
การทำงานเป็นทีม สอนให้นักเรียนรู้จักความสามัคคี
3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
ออกแบบการสอนโดยเน้นให้นักเรียนคิดเป็น ทำเป็น
รู้จักการแก้ปัญหาเป็น อย่างเช่น ถ้าครูจะสอนเกี่ยวกับเรื่องวิกฤติธรรมชาติ
อันดับแรก คือ ครูจะร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับนักเรียน หลังจากนั้นให้นักเรียนวิเคราะห์ถึงสาเหตุและก็ปัญหาที่เกิดขึ้น
แล้วก็นำปัญหาที่ได้มาการแก้ปัญหารู้ว่าปัญหาดังกล่าวสามารถนำแนวทางใดมาใช้ในการแก้ปัญหาได้บ้าง
เช่น หลักเศรษฐกิจพอเพียง หลักอิทธิบาท 4
หลังจากนั้นก็สรุปแบบองค์ความรู้ที่สมบูรณ์อีกหลัง เราสามารถนำความรู้จากบทความที่ได้นี้ไปเป็นแนวทางในการเรียนการสอน
ไว้ให้เด็กเป็นแนวคิดในหลักการดำรงชีวิต เป็นข้อคิดในการแก้ปัญหาต่าง ๆ
บทความ
วิถีแห่งสตีฟ จ๊อบส์ THE STEVE JOBS WAY
1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
บนโลกแห่งโลกาภิวัฒน์ใบนี้
เป็นสิ่งที่ผู้คนปฏิเสธไม่ได้ในเรื่องของเทคโนโลยี
ซึ่งผู้ที่หลายคนยอมรับว่าเขามีบทบาทในเรื่องนี้คือ สตีฟ จ๊อบส์ สตีฟ จ๊อบส์ คือ
มนุษย์ผู้หนึ่งที่มิได้มีมนต์วิเศษใดใดแต่เขาเป็นผู้ที่มีปัญญาสูง มีสมองที่ดีมาก
มีความฉลาด ฉลาดในการวางแผน ฉลากในการเลือกเพื่อนร่วมงาน
เขาสามารถผลิตเทคโนโลยีพลิกโลกให้เปลี่ยนไป ดังที่รู้ว่า เขาและทีมงานเป็นผู้ผลิต
ไอแพด ไอพอด ไอโฟน และอื่นๆอีกมากมาย สิ่งเหล่านี้เกิดจากสมองและสองมือทั้งสิ้นจนอาจกล่าวได้ว่าอารยธรรมของโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่และทำให้ให้โลกก้าวทันเทคโนโลยีมากขึ้น
การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา แต่ละเขตพื้นที่ประกอบด้วย 3 คณะ
1. คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา(กพท.)
มีหน้าที่หลักในการดูแล ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
ในลักษณะทั่วไป
2. คณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ
ประเมินผลและนิเทศการศึกษา(กตปน.) มีหน้าที่หลักในการดูแลงานเชิงวิชาการ
งานประกันคุณภาพการศึกษา
3.
อนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษา
(อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา)
มีหน้าที่หลักในการดูแลงานด้านการบริหารงานบุคคล
ปัจจุบันนี้เกิดปัญหาความต้องการทางเขตพื้นที่การศึกษาคือ
การจัดการศึกษาในบางระดับที่มีการเรียนสูงขึ้น การออกระหว่างเรียนก็น้อยลง
และก็มีการเรียนต่อสูงขึ้น จึงต้องมีการพัฒนาในเรื่องของสถานศึกษา
และครูอาจารย์ให้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงทำให้แก้ไขปัญหาต่างๆในปัจจุบัน
เช่นการว่างงาน ปัญหาสังคม เป็นต้น
2. ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
ในวันหนึ่งดิฉันเป็นครูผู้สอนดิฉันจะนำความรู้นี้ไปประยุกต์ใช้ในการสอนคือ
พัฒนาตนเองก่อนเป็นอันดับแรกให้มีความรู้และความสามารถทันต่อยุคสมัยตลอดจนพัฒนาผู้เรียน
โดนเห็นผู้เรียนสำคัญที่สุด ร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ และผู้ปกครอง โรงเรียน
เพื่อนแก้ปัญหาต่างๆของโรงเรียนบนแนวทางแห่งเศรษฐกิจพอเพียงในการสอนนั้นจะต้องทุ่มเทและถ่ายทอดให้เด็กนักเรียนของตนให้หมดไม่ควรเก็บไว้คนเดียว
สอนด้วยจิตวิญญาณความเป็นครูอย่างแท้จริง
ให้นักเรียนมีส่วนในการมีส่วนร่วมบ้างแสดงความสามารถของตัวเอง
จะไม่ทอดทิ้งเด็กให้อยู่ด้านหลังและจะรักและให้คำปรึกษาเด็กหากมีปัญหา
ผลักดันให้เด็กมีความรู้ที่ทัดเทียมกันสามารถเรียนร่วมกับเพื่อนร่วมห้องได้โดยไม่มีปัญหา
3. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
ในอนาคตดิฉันจะเป็นครูผู้สอน
และดิฉันจะนำแนวคิดของบทความนี้ไปใช้ในการออกแบบการสอนโดย
ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเข้าใจ สามารถนำไปใช้ได้จริง
ดิฉันจะนำมาประยุกต์ใช้กับเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น
จะจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มากที่สุดจะออกแบบการเรียนการสอน
ที่ทำให้นักเรียนเกิดความรู้ได้โดยง่าย
สร้างความสามัคคีในกลุ่ม สร้างความรับผิดชอบต่อตนเองและเพื่อนในกลุ่ม สร้างการมีน้ำใจช่วยเหลือซึ่งกันและกัน สร้างความสนุกสนานในการเรียนการสอน บรรยากาศที่ดี
และที่สำคัญคือนักเรียนได้สร้างองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากตัวเองและความรู้ที่จากเพื่อนมาหลอมเป็นองค์ความรู้ใหม่ของตัวเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น